ธุรกิจของบริษัท
บริษัท ซาเล็คต้า จำกัด (มหาชน) (ZAA)
ปัจจุบันบริษัท ซาเล็คต้า จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจด้านการลงทุนในบริษัทย่อยที่ดำเนินธุรกิจสื่อ ภาพยนตร์ การจัดหาลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์ต่างประเทศเพื่อฉายผ่านโรงภาพยนตร์ชั้นนำของประเทศไทยพร้อมทั้งจำหน่ายลิขสิทธิ์ผ่านทางสื่อทีวี ในรูปแบบฟรีทีวี เปย์ทีวี และ วีดีโอออนดีมานด์ ตลอดจนสื่อทางด้าน Digital ต่าง ๆ พร้อมทั้งการลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจผลิตภาพยนตร์ไทยและสื่อโฮมเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ทำให้กลุ่มบริษัทสามารถสร้างรายได้ครบทุกช่องทางอันก่อประโยชน์สูงสุดด้านรายได้ให้กับธุรกิจของกลุ่มบริษัท
ลักษณะการประกอบธุรกิจของกลุ่มบริษัท
ลำดับที่ | บริษัท | ลักษณะการประกอบธุรกิจ | ช่องทาง |
---|---|---|---|
1 | บริษัท ซาเล็คต้า จำกัด (มหาชน) | ลงทนุในธุรกิจจัดหาและซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ต่างประเทศทั้งจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาและลงทุนในธุรกิจสื่อโฮมเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ พร้อมทั้งธุรกิจผลิตภาพยนตร์ไทย | ลงทุนผ่านบริษัทย่อยของบริษัท |
2 | บจ. เอ็ม พิคเจอร์ส | จัดหาและซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์ต่างประเทศ ทั้งจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาและผลิต | ฉายผ่านโรงภาพยนตร์และจำหน่ายสิทธิในช่องทางต่าง ๆ |
3 | บจ. เอ็ม เทอร์ตี้ไนน์ | ผลิตภาพยนตร์ไทย | ฉายผ่านโรงภาพยนต์และจำหน่ายสิทธิในช่องทางต่าง ๆ |
4 | บจ. เอ็ม วี ดี | จัดหาและซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ต่างประเทศ และภาพยนตร์ไทย จัดทำในรูปแบบ วีซีดี, ดีวีดี และบลูเรย์ | จัดทำภาพยนตร์เป็นสื่อประเภทโฮมเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ |
5 | บจ. เอ็ม ทาเลนต์ | ผลิตภาพยนตร์ไทย และละครซีรีย์ | ฉายผ่านโรงภาพยนตร์และจำหน่ายสิทธิในช่องทางต่าง ๆ |
6 | บจ. เมเจอร์ กันตนา บรอดแคสติ้ง | ดำเนินธุรกิจเคเบิ้ลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียม | ผ่านเคเบิ้ลทีวี ช่อง M Channel |
7 | บจ. ทรานส์ฟอร์เมชั่น ฟิล์ม | ผลิตภาพยนตร์ไทย | ฉายผ่านโรงภาพยนตร์และจำหน่ายสิทธิในช่องทางต่าง ๆ |
8 | บจ. เอ็มพีวี เอ็ม พิคเจอร์ส ฟิล์ม ดิสทริบิวชั่น (ลาว) | จัดจำหน่ายภาพยนตร์ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | ฉายผ่านโรงภาพยนตร์และจำหน่ายสิทธิในช่องทางต่าง ๆ |
9 | บจ. เอ็ม.พี.ไอ.ซี (กัมพูชา) ดิสทริบิวชั่น | จัดจำหน่ายภาพยนตร์ในประเทศกัมพูชา | ฉายผ่านโรงภาพยนตร์และจำหน่ายสิทธิในช่องทางต่าง ๆ |
กลยุทธ์ทางการตลาด
-
กลยุทธ์ด้านคุณภาพของภาพยนตร์กลุ่มบริษัทมุ่งเน้นจัดหาลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์ต่างประเทศ และ การผลิตภาพยนตร์ไทย รวมทั้งการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ในช่องทางอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางในรูปแบบ Free TV และ Pay TV ตลอดจนสื่อทางด้าน Digital เช่น Video On Demand ที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในธุรกิจบันเทิงให้ครอบคลุมทุกช่องทาง เพื่อการบริหารจัดการสิทธิให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยเน้นภาพยนตร์ ทางกลุ่มบริษัทจัดซื้อลิขสิทธิ์ทางบริษัทจะสรรหาจากแหล่งภาพยนตร์ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ เช่น งานเทศกาลภาพยนตร์จากทั่วโลก ค่ายภาพยนตร์ที่ภาพยนตร์เป็นที่นิยมในภูมิภาคเอเชียค่ายภาพยนตร์อิสระที่สร้างภาพยนตร์แนวแปลกใหม่และค่ายภาพยนตร์ในประเทศไทย รวมถึงการผลิตภาพยนตร์ไทยกลุ่มบริษัทได้คำนึงถึงรสนิยมความเหมาะสม เพศ วัยของผู้บริโภคและพิจารณาสถานะทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคเป็นหลัก อีกทั้งพยายามส่งเสริมการผลิตภาพยนตร์ไทยให้มีคุณภาพเป็นที่นิยมของผู้บริโภค
-
กลยุทธ์ด้านการให้บริการที่สนับสนุนเกื้อกูลการดำเนินงานซึ่งกันและกันปัจจุบันกลุ่มบริษัทเป็นผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสื่อภาพยนตร์แบบครบวงจรตั้งแต่การจัดหาลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ต่างประเทศและภาพยนตร์ไทยตลอดจนการเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ไทย รวมทั้งเป็นผู้จัดจำหน่ายและหรือเผยแพร่ภาพยนตร์ลิขสิทธิ์ของบริษัทผ่านทางช่องทางต่าง ๆ ได้อย่างเต็มขีดความสามารถเนื่องจากกลุ่มบริษัทมีความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ที่ประกอบธุรกิจโรงภาพยนตร์รายใหญ่ในประเทศไทยที่มีโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ ตลอดจนมีการหาพันธมิตรทางธุรกิจรายใหม่อยู่เสมอในการดำเนินธุรกิจที่มีสายสัมพันธ์ค่อนข้างครบวงจรดังกล่าวถือเป็นจุดแข็งของบริษัทเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบธุรกิจอื่นที่มีธุรกิจใกล้เคียงกับกลุ่มบริษัท
-
กลยุทธ์ด้านรสนิยมของผู้บริโภคเนื่องจากในปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคในการคัดสรรเลือกชมภาพยนตร์เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้ง มีช่องทางในการรับชมผ่านทางสื่อต่าง ๆ มากขึ้น จากปัญหาดังกล่าวจึงทำให้บริษัทต้องปรับตัวเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค บริษัทตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับรสนิยมของผู้บริโภคตลอดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เพิ่มเข้ามาอันเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อผลประกอบการของบริษัท ดังนั้น บริษัทจึงต้องคัดสรรภาพยนตร์และการเพิ่มช่องทางจำหน่ายให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย ตลอดจนการจัดหาภาพยนตร์ และการผลิตภาพยนตร์ไทยให้ตรงกับรสนิยมของผู้บริโภคเพื่อกระตุ้นการบริโภคสื่อภาพยนตร์ของผู้บริโภคในประเทศไทยให้มากที่สุด
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลัก
- ผู้บริโภคภาพยนตร์ทุกประเภท และทุกวัย
- โรงภาพยนตร์ในกรุงเทพฯ และ ต่างจังหวัด
- ผู้ประกอบธุรกิจ Free TV, Cable TV, Digital, IPTV, VOD
- ผู้ประกอบการสื่อภาพยนต์ในต่างประเทศ
ศักยภาพในการแข่งขัน
บริษัท ซาเล็คต้า จำกัด (มหาชน)
ปัจจุบันกลุ่มบริษัทเป็นผู้ประกอบธุรกิจสื่อภาพยนตร์ครบวงจร กล่าวคือ บริษัทเข้าลงทุนในธุรกิจด้านจัดหาและจัดจำหน่ายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ต่างประเทศ ธุรกิจผลิตภาพยนตร์ไทย รวมถึงการเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์กรุ้ป จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจโรงภาพยนตร์รายใหญ่ในประเทศไทยที่มีโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ ทำให้บริษัทสามารถเติบโตได้อย่างมีศักยภาพสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ด้วยจุดแข็งของบริษัททำให้มีโอกาสและช่องทางที่ดีในการบริหารจัดการและบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ภายในองค์กรได้อย่างสูงสุด อีกทั้ง การสนับสนุนจากสื่อต่าง ๆ จากกลุ่มบริษัท เช่น สื่อโฆษณา โรงภาพยนตร์ เป็นต้น เป็นผลให้บริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น รวมถึงบริษัทสามารถขยายกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าของบริษัทได้อย่างต่อเนื่องเป็นผลให้ผู้บริโภคมีความสนใจในสื่อภาพยนตร์ของกลุ่มบริษัทมากขึ้น ตลอดจนการพัฒนาและเพิ่มเติมสื่อ Digital ซึ่งมีความต้องการจากผู้บริโภคมากขึ้น ในปีที่มาบริษัทเน้นช่องทางการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ผ่านทาง Digital Platform ต่าง ๆ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น Netflix รวมทั้งขยายช่องทางการจัดจำหน่ายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ไทยออกสู่ตลาดต่างประเทศ เช่น กัมพูชา ลาว เวียดนาม ฮ่องกง และตามเทศกาลภาพยนตร์ต่าง ๆ เช่น เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานน์ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้อีกช่องทางหนึ่งของบริษัท
บจก. เอ็ม พิคเจอร์ส
ในปีที่ผ่านมาถึงแม้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด–19 ส่งผลให้ธุรกิจการนำภาพยนตร์จัดฉายในโรงภาพยนตร์หยุดชะงักระหว่างไตรมาสที่ 1 ถึงไตรมาสที่ 2 แต่บริษัทได้พยายามชดเชยโดยการนำภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์ต่างประเทศเข้าฉายในไตรมาสที่ 3 และไตรมาส 4 มากขึ้น ทำให้ธุรกิจของบริษัทยังคงเติบโต นอกจากนั้น บริษัทยังคงมีศักยภาพและความแข็งแกร่งทางด้านเงินทุน ประกอบกับผู้ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกับบริษัทมีจำนวนไม่มากทำให้ภาวะการแข่งขันไม่รุนแรงเนื่องจากนำเข้าสิทธิภาพยนตร์แต่ละรายจะมีส่วนแบ่งของตลาดเป็นของตัวเองอย่างชัดเจนประกอบกับบริษัทเองมีช่องทางการตลาดหลายช่องทางและมีความชัดเจน จึงมีผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวไม่มากนัก
บจก. เอ็ม วี ดี
ภาพรวมของธุรกิจโฮมเอ็นเตอร์เทนเม้นท์นั้นไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป บริษัทจึงได้ปรับกลยุทธโดยการอนุญาตให้ผู้ผลิตภาพยนตร์ในรูปแบบโฮมเอ็นเตอร์เทนเม้นท์รายอื่นนำภาพยนตร์ที่เป็นสิทธิ์ของบริษัทนำไปผลติและจำหน่ายโดยเสียค่าตอบแทนเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงเรื่องสินค้าคงค้างเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการด้วยประการหนึ่ง
บจก. เอ็ม เทอร์ตี้ไนน์/ บจก. เอ็ม ทาเลนต์/ บจ. ทรานฟอร์เมชั่น ฟิล์ม
ปัจจุบันธุรกิจสร้างภาพยนตร์ในประเทศไทยมีเป็นจำนวนมากทำให้มีการแข่งขันค่อนข้างสูง แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทมีแนวภาพยนตร์และกลุ่มผู้ชมเป็นของตนเอง นอกจากนั้น บริษัทมีกลุ่มธุรกิจที่มีความเข้มแข็งที่คอยให้ความสนับสนุนเป็นอย่างดี เช่น โรงภาพยนตร์ รวมถึงคู่ค้าทางธุรกิจที่มีศักยภาพในการประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์ให้เป็นที่รู้จัก โดยปัจจัยที่กล่าวมานี้จะช่วยทำให้บริษัทมีศักยภาพการแข่งขันในธุรกิจนี้ได้